Category: Catholic News

Catholic News
06
พระสันตะปาปาฟรังซิสเชิญชวนให้ทุกคน “ก้าวเดินไปด้วยกัน” #Synod 2021-2023

ในช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2021   สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้เสด็จไปร่วมกิจกรรม “ห้วงเวลาแห่งการไตร่ตรอง”(Moment of Reflection)  ที่หอประชุมซีนอดใหม่ ก่อนที่จะมีพิธีมิสซาเปิดซีนอดอย่างเป็นทางการเวลา 10.00 น.(ตรงกับเวลาในประเทศไทยคือ 15.00 น.) ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ได้เชิญชวนพระคาร์ดินัล พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส เยาวชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วม 300 คน เข้าร่วมประชุมทั้งการประชุมปกติกับการประชุมผ่านทางระบบออนไลน์ โดยในระหว่างการประชุมนั้นได้มีตัวแทนเยาวชนชาวโปรตุเกส ชิลี และอินเดีย นำขบวนแห่หนังสือพระคัมภีร์ และเทียน นำมาไว้กลางห้องประชุม เพื่อเป็นสัญลักษณ์การประทับอยู่ของพระเจ้า และอ่านพระคัมภีร์ 3 ภาษา จากนั้นจะเป็นการนำรำพึง โดยคุณพ่อ Paul BERE จากประเทศบูกิน่าฟาโซ และ Cristina Inoges Sanz จากประเทศสเปน เมื่อจบจากการนำรำพึงแล้วจะเป็นโอวาทจากสมเด็จพระสันตปาปาฟรังซิส การทักทายจากพระคาร์ดินัล Jean-Claude Hollerich และการแบ่งปันจากตัวแทนของผู้ที่อยู่ในทวีปที่ต่างกัน และปิดท้ายด้วยการสรุปจากพระคาร์ดินัล Mario Grech […]

Catholic News
Cracovia 27 luglio 2016. GMG 2016
La festa dei giovani dall'Italia
สารพระสันตะปาปาฟรังซิสโอกาสวันเยาวชนโลกครั้งที่ 36

กรุงโรม (ประเทศอิตาลี)   เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2021   มีการเผยแพร่สารของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสแก่เยาวชนในโอกาสวันเยาวชนโลกครั้งที่ 36  ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองในระดับพระศาสนจักรท้องถิ่นทั่วโลก ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2021 โอกาสสมโภชพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล  ในหัวข้อ “ลุกขึ้น  จงเป็นพยานยืนยันถึงสิ่งที่เธอได้เห็น” (เทียบ กจ 26,16)   พระองค์ทรงแสดงความปรารถนาที่จะ “จูงมือ” เยาวชนเพื่อสานต่อการจาริกฝ่ายจิตนี้ไปสู่วันชุมนุมเยาวชนโลกที่กรุงลิสบอนในปี 2023 งานชุมนุมเยาวชนโลก ปี 2020 : “หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด”  (ลก 7,14) งานชุมนุมเยาวชนโลก ปี 2021 : “ลุกขึ้น จงเป็นพยานยืนยันถึงสิ่งที่เธอได้เห็น”  (เทียบ กจ 26,16) งานชุมนุมเยาวชนโลก ปี 2023 : “พระนางมารีย์ลุกขึ้น และรีบเร่งไป”  (ลก 1,39) สารของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสในปี 2021 มีศูนย์กลางอยู่ที่คำว่า “ลุกขึ้น”  ซึ่งมีสานต่อการจาริกฝ่ายจิตจากหัวข้อของวันเยาวชนโลกในปี […]

Catholic News
synodolty
พระศาสนจักรเตรียมกระบวนการสู่การประชุมซีน็อดของบรรดาบิชอป

ในเดือนตุลาคม 2021   สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเปิดการประชุมซีน็อดแบบสามปีต่อเนื่องกันในสามระดับ คือ ระดับสังฆมณฑล ระดับทวีป และระดับสากล เพื่อการปรึกษาหารือและการไตร่ตรอง ซึ่งจะกระทำด้วยการประชุมใหญ่ในเดือนตุลาคม 2023 ณ กรุงโรม  สมเด็จพระสันตะปาปาทรงนำหนทางแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน (Synodality) ซึ่งจะเริ่มต้นที่นครรัฐวาติกัน พระองค์จะทรงเป็นประธานในพิธีในวันที่ 9 และ 10 ตุลาคม 2021 โดยให้เวลาสำหรับการพบปะกันและการไตร่ตรอง ตามด้วยการอธิษฐานภาวนาและพิธีบูชาขอบพระคุณ จากนั้น พระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งจะเริ่มการก้าวเดินของตนเองในวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2021 ภายใต้การนำของบิชอปในแต่ละเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) เป้าหมายของสมัชชานี้คือการปรึกษาหารือกับประชากรของพระเจ้า เลขาธิการแห่งสมัชชาจะส่งเอกสารเตรียมงานที่มีคำถามพร้อมกับคู่มือที่เรียกว่า “Vademecum” โดยมีข้อเสนอสำหรับการปรึกษาหารือกันในพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง เอกสารนี้จะถูกส่งไปยังคูเรีย สหพันธ์เจ้าคณะนักบวช สหพันธ์ชีวิตผู้ถวายตัว องค์กรฆราวาสสากล มหาวิทยาลัย หรือคณะเทววิทยา และก่อนถึงเดือนตุลาคม 2021 บิชอปจะแต่งตั้งผู้แทนของเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) เป็นจุดอ้างอิงและประสานงานกับสภาบิชอปคาทอลิก และสภาบิชอปคาทอลิกจะแต่งตั้งผู้แทนหรือทีมงานเพื่อประสานกับสำนักเลขาธิการแห่งสมัชชาซีน็อด กรุงโรม ระดับสังฆมณฑล – การทำงานของเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) จะเริ่มต้นด้วย “การประชุมก่อนการประชุมซีน็อด” ซึ่งผลของการประชุมจะต้องส่งไปยังสภาบิชอปคาทอลิกของตนเอง บรรดาบิชอปที่เข้าร่วมประชุมในช่วงของการไตร่ตรองจะทำการสรุป […]

Catholic News
Smerilli_Papa-Francesco-768x512
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง ซิสเตอร์ อเลสซานดรา สเมริลลี (FMA)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง ซิสเตอร์ อเลสซานดรา สเมริลลี (Alessandra Smerilli)  ทำหน้าที่เลขาธิการกระทรวงพัฒนามนุษย์และประสานงานคณะกรรมาธิการวาติกัน โควิด-19  ซึ่งก่อตั้งโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ซิสเตอร์อเลสซานดรา สเมริลลี  คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (FMA)  เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ในเมืองวาสโต ประเทศอิตาลี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองจากคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย La Sapienza แห่งกรุงโรม และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จากคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย East Anglia ในเมืองนอริช (สหราชอาณาจักร)    ซิสเตอร์อเลสซานดรา  มีความมุ่งมั่นในการรับใช้พระศาสนจักร และปรารถนาแสดงความขอบคุณต่อสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสสำหรับการแต่งตั้ง ดังนี้ “ฉันสำนึกด้วยใจรู้คุณต่อพระสันตะปาปาบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับหน้าที่ที่พระองค์ทรงมอบให้  ฉันสวดภาวนาขอพระเจ้าได้ทรงช่วยให้ฉันทำงานนี้ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเชื่อฟังต่อพระศาสนจักร ด้วยความถ่อมตน มุ่งมั่น  คิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการฟัง  ความปรารถนาทั้งหมดและความตั้งใจจริงของฉัน คือการรับใช้พันธกิจของพระศาสนจักรอย่างสุดความสามารถ ตราบเท่าที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเห็นควร” 

Catholic News
cq5dam.thumbnail.cropped.1500.844
พระสันตะปาปาร้องขอความเห็นใจเพื่อที่จะต่อสู้กับความหิวโหยและการขาดแคลนอาหาร

ในการประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 41 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2019 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ออกมาร้องขอความเห็นใจจากผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน โดยอ้างอิงจากเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) 2 ข้อแรกจาก 17 ข้อ คือ “ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่” และ “ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน” ท่านตรัสว่าปัจจุบันนี้มีผู้คนมากมายที่ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดโดยเกิดจากการขาดความร่วมมือทางสังคมและการเมืองที่ไม่ได้เล็งเห็นว่าปัญหาเหล่านี้คือปัญหาระดับสากล ปัญหาการขาดแคลนอาหารและน้ำไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศยากจนเท่านั้น มันเกิดขึ้นกับพวกเรา กับพี่น้องทุกคน ที่เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากพวกเราอย่างสิ้นหวัง ปัญหาการขาดแคลนอาหารและน้ำได้นำไปสู่ปัญหาความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ปัญหาการอพยพของผู้ลี้ภัย โดยพระสันตะปาปาตรัสว่าตัวเลขของผู้ลี้ภัยที่สูงขึ้นในช่วงหลายปีมานี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาระดับประเทศแต่เป็นปัญหาของมวลมนุษยชาติ พระสันตะปาปาได้มอบข้อเสนอแนะว่าทางเดียวที่จะต่อสู้กับการขาดแคลนอาหารและน้ำคือการลดความสิ้นเปลืองของอาหารและน้ำลง ซึ่งการกระทำนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทางสังคม และท่านได้เล็งเห็นว่าควรสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้ง โดยลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและการพัฒนาในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม พระสันตะปาปาได้เรียกร้องรัฐบาล นักธุรกิจ สถาบันการศึกษา ประชาสังคม และภาคเอกชนต่างๆให้ความร่วมมือกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หรือองค์กรนานาชาติอื่นๆเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาให้อย่างน้อยคนยากจนสามารถเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ โดยท่านมีความคาดหวังว่าความหิวโหยจะถูกขจัดไปจากโลกใบนี้เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับโลกละมนุษยชาติต่อไป By Robin Gomes แปลและเรียบเรียงโดย นางสาวเพ็ญพิชา กิจพานิช อ้างอิงจาก https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2019-06/pope-francis-fao-hunger-food-insecurity-migration-agriculture.html

Catholic News
cq5dam.thumbnail.cropped.1500.844
การศึกษาเกี่ยวกับศาสนาของผู้ใหญ่ในประเทศไอร์แลนด์

จากแหล่งข่าวที่เผยแผ่เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2019 ดร.เบอร์นาแด๊ด สวีทแมน นักวิจัยหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย UCD (University College Dublin) ได้นำเสนองานด้านการวิจัยว่า ที่ศูนย์มาแตร์เดอีสำหรับการศึกษาคาทอลิกที่มหาวิทยาลัย UCD ได้ใช้เวลา 3 ปี ในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาทางศาสนาสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไอร์แลนด์ เพราะคนส่วนใหญ่ได้เรียนวิชาศาสนาในโรงเรียน แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียน เขาจะมีการศึกษาเรื่องศาสนาและความเชื่อต่อไปอย่างไร โดยการวิจัยนี้จะได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ การพัฒนาและการค้นหาความเชื่อ ผู้ค้นคว้าการวิจัยนี้ หรือ ดร.เบอร์นาแด๊ด สวีทแมน นักวิจัยหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย UCD กล่าวว่า ”เราต้องการศึกษาว่าจะเกิดอะไรขึ้นในการศึกษาทางด้านศาสนาและความเชื่อของผู้ใหญ่ในคาทอลิกรวมถึงความเชื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าในอนาคตพวกเขาต้องการอะไร” มีข้อสมมุติฐานว่าเราเรียนเรื่องความเชื่อหรือศาสนามาเป็นจำนวนมากที่โรงเรียน เมื่อเราจบการศึกษาไป เราคิดว่าการศึกษานั้นเพียงพอแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องศึกษาเพิ่ม เธอพบว่าในช่วงเทศกาลมหาพรตพวกผู้ใหญ่ก็ได้เข้าร่วมวจนพิธีกรรมหรือฟังรายการวิทยุจากผู้มีชื่อเสียงมาเล่าประสบการณ์ส่วนบุคคลกับพระเจ้า (Lent Talks) แต่เธอก็ยังพบว่ามีผู้ใหญ่บางกลุ่มต้องการเรียนรู้ในวิธีที่แตกต่างกันออกไป หรือเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่เคยรู้มาก่อน ดร.สวีทแมนชี้ให้เห็นว่าผู้ใหญ่กลุ่มนี้มีความกระหายที่จะเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเชื่อของตัวเอง เธอพบว่าปัญหาข้อหนึ่งในการศึกษาทางด้านศาสนาและความเชื่อของผู้ใหญ่คือการขาดแคลนทักษะการสื่อสารทางภาษาที่ดีพอ เช่น เราจะวางตัวอย่างไรในประเทศไอร์แลนด์เมื่อเราบอกกับผู้คนว่าเรามีความเชื่อ หรือเมื่อเราพูดว่า”ฉันนับถือศาสนา…” แท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร ดร.สวีทแมนเน้นย้ำว่าในประเทศที่มีความเชื่อที่หลากหลายอย่างประเทศไอร์แลนด์ การสื่อสารประเภทนี้สำคัญมาก เพื่อที่ว่าคนอื่นจะได้รับทราบถึงค่านิยมของตัวเรา เคารพในสิทธิ์ตัวเรา เพื่อที่เราจะสามารถพัฒนาและรักษาความเชื่อนี้และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปได้ เมื่อถามว่าต้องการเห็นแผนงานอะไรจากการศึกษาค้นคว้านี้ เธอกล่าวว่าต้องการให้เกิดการสร้างชุมนุมขึ้นเพื่อที่จะได้รักษาและพัฒนาความเชื่อในชุมนุม […]

Catholic News
cq5dam.thumbnail.cropped.750.422
สารวันผู้ยากไร้โลกครั้งที่ 3

ผู้ยากไร้ได้ช่วยชีวิตพวกเราเพราะพวกเขาเผยพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าให้เราได้เห็น   หัวข้อวันผู้ยากไร้โลกครั้งที่ 3 ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเลือกคือ “เพราะพระองค์ไม่มีวันทรงลืมคนขัดสนเลย ความหวังของคนยากจนจะไม่ล้มเหลวอย่างแน่นอน” (สดด 9:18) ในสารวันผู้ยากไร้โลกซึ่งปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตรัสว่า คำพูดเหล่านั้นของบทสดุดี “แสดงให้เห็นถึงความจริงที่ลึกซึ้งที่ว่า ความเชื่อคือสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดในหัวใจของผู้ยากไร้ ความเชื่อช่วยพวกเขากอบกู้ฟื้นฟูความหวังในยามที่ต้องเผชิญกับความอยุติธรรม ความทุกข์และความไม่แน่นอนของชีวิต” ทรงชี้ให้เห็นว่าตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมามีคนรวยและคนจนอยู่เสมอ และในวันนี้ “เราต้องยอมรับการเป็นทาสรูปแบบใหม่ ๆ ของชายหญิงเยาวชนและเด็กหลายล้านคน”  “กี่ครั้งกี่หนที่พวกเราเห็นคนยากจนคุ้ยตามถังขยะเพื่อค้นหาสิ่งที่คนอื่นทิ้งด้วยความหวังว่าจะเจอบางสิ่งบางอย่างเพื่อสวมใส่หรือเพื่อเลี้ยงชีวิต” ในพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงให้ความสนใจคนยากไร้อยู่เสมอ “สถานการณ์ของผู้ยากไร้ที่เราเห็นอยู่ในขณะนี้เตือนใจเราให้ไม่อยู่ห่างจากพระเจ้าผู้ทรงสถิตอยู่กับพวกเขาและทนทุกข์ทรมานในพวกเขา เราถูกเรียกให้สัมผัสเลือดเนื้อของพระองค์ในผู้ยากไร้และมุ่งมั่นเสนอตัวรับใช้ นี่เป็นการประกาศข่าวดีอย่างแท้จริง ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมคนยากจนรวมถึงการพัฒนาด้านสังคมของพวกเขานั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต่างไปจากการประกาศข่าวดีแห่งความรอดเลย ในทางตรงกันข้ามแสดงให้เห็นความสมจริงของความเชื่อของคริสตชนและความถูกต้องทางประวัติศาสตร์” สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงความหวังของคริสตชนท่ามกลางกระแสของสังคมในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสบริโภคนิยมซึ่งทำให้ของสิ้นเปลืองเกิดขึ้นเต็มไปหมดเพียงเพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่คนทั่วไปคิดว่าดี สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้ คือการเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อที่เราจะได้รู้จักแยกแยะว่าสิ่งไหนจำเป็น เพื่อที่เราจะสามารถมอบเนื้อหาและยืนยันการประกาศอาณาจักรของพระเจ้า” พระองค์ท่านได้ตรัสอีกว่า “ถึงแม้ว่าคนจนจะต้องการสิ่งของ อาทิ เสื้อผ้า หรือ อาหารอุ่นๆ สักมื้อ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือความรัก” “พระเจ้าได้เลือกสิ่งที่อ่อนแอเพื่อที่จะทำให้สิ่งที่แข็งแกร่งได้ละอาย ผู้ยากไร้ได้ช่วยชีวิตพวกเราเพราะพวกเขาเผยพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าให้เราได้เห็น” สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสสรุปว่า “หากศิษย์พระคริสต์ปรารถนาจะเป็นผู้ประกาศ พวกเขาต้องหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังที่จับต้องได้”  พระองค์ท่านทรงขอให้ชุมนุมคริสตชนทุกแห่งและทุกคนที่รู้สึกถูกกระตุ้นให้เสนอความหวังและการปลอบโยนคนจน “ช่วยกันส่งเสริมวันผู้ยากไร้โลกให้เป็นโอกาสของความมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อว่าจะไม่มีใครถูกกีดกันจากความใกล้ชิดและความน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” […]

Catholic News
2
บริการไปรษณีย์และโทรศัพท์วาติกันส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวสารคาทอลิก

สมเด็จพระสันตะปาปา: บริการไปรษณีย์และโทรศัพท์วาติกันส่งเสริมการเผยแพร่ข่าวสารคาทอลิก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ต้อนรับพนักงานและผู้จัดการบริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมของนครรัฐวาติกัน ทรงขอบคุณพวกเขาสำหรับงานที่พวกเขาได้ทำ และทรงตรัสบอกให้พวกเขาก้าวออกไปไกลกว่า “เมืองเล็ก ๆ และประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ” ของนครรัฐวาติกัน (ประชากรประมาณ1,000คน ข้อมูลปีค.ศ.2017) ทรงตรัสว่า “วาติกันและสันตะสำนัก” ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารและองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการสื่อสาร โดยอาศัยการทำงานของสองหน่วยงานนี้ทำให้ผู้คนได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระสันตะปาปา และพระสันตะปาปาก็สามารถเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้ การทำงานของพวกเขาเป็นดั่งสะพานที่เชื่อมต่อวัฒนธรรม ศาสนา และสังคมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้สึกและไอเดีย ส่งเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปต่าง ๆ  อำนวยความสะดวกในการการแลกเปลี่ยน ไม่ใช่แค่เพียงปัจจัยภายนอก หากรวมถึงคุณค่าด้านจิตวิญญาณและวัฒนธรรมด้วย ดังนี้จึงพูดได้ว่า แม้บริการไปรษณีย์และโทรศัพท์จะทำงานอยู่ในนครรัฐวาติกัน ประเทศที่เล็กที่สุดในโลกแต่ก็ได้ช่วยพระองค์ท่านทำงานที่ยิ่งใหญ่มาก นั่นก็คือเผยแพร่ข่าวสารจากคริสตชนไปสู่โลก ในที่สุดสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตั้งข้อสังเกตว่า พนักงานหลายคนทำงานโดยตรงกับผู้คนและทรงย้ำถึงความสำคัญของการเป็นประจักษ์พยานคริสตชนที่ “เรียบง่ายแต่เฉียบคม”ของพวกเขา การทำงานในวาติกันนั้น ถือเป็นการ“มุ่งมั่นพิเศษในการปลูกฝังความเชื่อ ” รวมถึงนอกพื้นที่ทำงานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเชิญชวนทุกคนทำให้สมาชิกในครอบครัวของตน  “เป็นพระศาสนจักรเล็ก ๆ ที่ซึ่งความเชื่อและชีวิตมีความกลมกลืนกันระหว่างความสุขและความทุกข์ของชีวิตประจำวัน”   https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2019-06/pope-vatican-postal-and-telephone-services-promote-spread-of-ch.html  

Catholic News
1
พระคาร์ดินัลเวเล็ต กล่าวในพิธีรำลึก 75 ปี วัน “ดี-เดย์” ว่า คริสตชนมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ

พระคาร์ดินัลเวเล็ต กล่าวในพิธีรำลึก 75 ปี วัน “ดี–เดย์” ว่า คริสตชนมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ เจ้าหน้าที่วาติกันทำพิธีรำลึกวันดี-เดย์ โอกาสครบรอบ 75 ปี ด้วยการเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณในมหาวิหารเมืองคอลเลวิลเล-ซูร์-เมอร์ ในนอร์มังดีที่กองทัพพันธมิตรเข้ายึดครองในปี ค.ศ.1944 วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1944 หรือเรียกว่า วันดี-เดย์ คือวันที่กองกำลังพันธมิตรมากกว่า 150,000 นายบุกเข้าฝั่งทางตอนเหนือของฝรั่งเศสซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปลดปล่อยฝรั่งเศสจากการยึดครองของนาซี พระคาร์ดินัล มาร์ก เวเล็ต ประธานสมณกระทรวงเพื่อพระสังฆราช ชาวแคนาดา ได้ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณที่มหาวิหารในประเทศฝรั่งเศส และได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องธำรงรักษาและปกป้องความสงบสุขในโลกที่มีการแบ่งแยกยิ่งทียิ่งมากขึ้น ท่านได้กล่าวกับสำนักข่าววิทยุวาติกันว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมในการเฉลิมฉลองสำคัญยิ่งนี้ เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงสารแห่งสันติภาพของพระศาสนจักรคาทอลิก พระคาร์ดินัลได้กล่าวว่า พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงประณามสถานการณ์โลกปัจจุบันบ่อยครั้งว่า เป็นสงครามโลกครั้งที่สามที่กำลังจะก่อตัวขึ้น เป็นความรับผิดชอบเร่งด่วนของเราที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ การพบปะ และการเสวนา ท่านได้กล่าวเสริมว่า “สำหรับข้าพเจ้าแล้วการรำลึกถึง 75 ปี วัน “ดี-เดย์” เป็นโอกาสที่จะไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งในมุมมองความเชื่อคาทอลิกและความมุ่งมั่นของพระศาสนจักรคาทอลิกในการเสวนา   https://www.vaticannews.va/en/vatican-city/news/2019-06/d-day-cardinal-ouellet-culture-of-peace-france-commemoration.html      

Catholic News
cq5dam.thumbnail.cropped.1500.844
โบสถ์คาทอลิกถูกโจมตีที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2019 กลุ่มผู้ก่อการร้ายติดอาวุธได้บุกโจมตีโบสถ์คาทอลิกในเมืองโทล์ฟ ทางตอนเหนือของประเทศบูร์กินาฟาโซในแอฟริกาตะวันตกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้ก่อการร้ายได้โจมตีระหว่างพิธีบูชามิสซาทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย สัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มผู้ก่อการร้ายได้สังหารชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 4 รายที่เมืองซิมเทงกา ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายน กลุ่มก่อการร้ายได้โจมตีโบสถ์คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ที่เมืองซิลกัดจิ มีผู้เสียชีวิต 6 คน และในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม บาทหลวง 1 คนและคริสตชน 5 คนได้ถูกสังหารในเมืองดาโบล เชื่อว่าผู้ลงมือเป็นกลุ่มทหารชาวมุสลิมที่ต้องการทำลายความสัมพันธ์ที่สงบสุขระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ในประเทศบูร์กินาฟาโซ มุขนายกธีโอไฟร์ แนร์ (Theophile Nare) ประมุขสังฆมณฑลคายา (The Roman Catholic Diocese of Kaya) กล่าวกับสำนักข่าวนครรัฐวาติกันว่าจากการก่อการร้ายที่เมืองซิลกัดจิ ผู้กระทำน่าจะต้องการกระตุ้นให้เกิดสงครามระหว่างศาสนา ชนชาติขึ้น เชื่อว่าทั้งหมดนี้มาจากกลุ่มหัวรุนแรงชาวมุสลิม สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ของแอฟริกา (Africa Centre for Strategic Studies) ระบุว่าการโจมตีภายในแคว้นสิเฮล (แคว้นหนึ่งในประเทศบูร์กินาฟาโซ) ได้เพิ่มจำนวนขึ้น จาก 3 ครั้งในปี […]