การถักโครเชท์
ความเป็นมา
	 เมื่อปี  พ.ศ. 2537  ซิสเตอร์นิรมล  เจียมศิริ  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน
  ได้ประสานงานร่วมกับ นางจุฑารัตน์  ฉิมวงษ์  หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามพรานเพื่อ
  จัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ วิธีเรียนทางไกลทุกระดับการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน
  ให้กับคนพิการทางสายตา โดยนำครูของทางศูนย์ฝึกอาชีพ ฯ จำนวน 3 ท่าน เข้ารับการอบรมครูกศน.
   และดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพรานในทุกระดับการเรียน  และทาง 
  หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอสามพราน ได้จัดหาสื่อต่าง ๆ  เพื่อนำใช้ในการเรียนการสอน  
  รวมทั้งจัดให้มีการวัดผลประเมินผลปลายภาคเรียนให้กับคนพิการทางสายตา  โดยแยกจากคนปกติ
	นอกจากนี้ยังมอบหมายให้  นางสาวสาวิตรี  มุมสิน   ครูอาสาสมัคร ประจำพื้นที่ ต.ไร่ขิง  
  ดูแลประสานงานในเรื่องต่าง ๆ กับทางศูนย์ฯ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษาอีกด้วย  และในปี  
  พ.ศ. 2538 ได้ร่วมกับทางศูนย์ฯ  จัดการศึกษาสายอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น สำหรับคนพิการทางสายตา
  วิชาการถักโครเชท์, การถักนิ้ตติ้ง และวิชาการนวดแผนไทยโบราณ หลักสูตรละ  250  ชั่วโมง  เพื่อให้คนพิการ  
  ทางสายตาสามารถประกอบอาชีพได้

	หลักสูตรวิชา     ถักโครเชท์ 1                     
 	   เนื้อหารายวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถักโครเชท์
	     1. ผู้เรียนรู้วิธีเลือกขนาดของด้ายและเข็มถักโครเชท์ ชนิดที่เหมาะ  กับชิ้นงาน
	     2. ผู้เรียนสามารถจับเข็ม ด้าย  และขึ้นต้นลูกโซ่ได้ถูกต้อง
	     3. ผู้เรียนรู้จักอักษรย่อและ สัญลักษณ์ลายสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้อง

	หลักสูตรวิชา    การถักโครเชท์ 2
	     เนื้อหารายวิชา  การถักกล่องทิชชู  ผู้เรียนสามารถถักกล่องทิชชูได้อย่างน้อย 1 ชิ้น

	หลักสูตรวิชา     การถักโครเชท์ 3
	     เนื้อหารายวิชา  การถักผ้าคลุมไหล่  ผู้เรียนสามารถถักผ้าคลุมไหล่ได้อย่าง น้อย 1 ผืน

	หลักสูตรวิชา     การถักโครเชท์ 4 
	     เนื้อหารายวิชา  การถักผ้าสไบ  ผู้เรียนสามารถถักผ้าสะไบได้อย่าง น้อย 1 ผืน 

	หลักสูตรวิชา     การถักโครเชท์ 5
	     เนื้อหารายวิชา ผืนถักวางกลางโต๊ะ  ผู้เรียนสามารถถักผืนผ้าวางกลางโต๊ะได้ อย่างน้อย 1 ชิ้น

ย้อนกลับ
 การฝึกทักษะการถักโครเชท์ 
	 
กำลังทำผ้าพันคออยู่ค่ะ...
กำลังถักผ้าสใบอยู่ค่ะ...
กำลังถักที่สวมกล่องทิชชูค่ะ...
อ่านลายแล้วก็ถักงานไปด้วย..
     
    

	หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน  การถักนิตติ้ง
	หลักสูตรวิชา การถักนิตติ้ง 1 
	     เนื้อหารายวิชา  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถักนิตติ้ง	
	     1. รู้จักอักษรย่อสำหรับใช้ในการถักนิตติ้ง และนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้
	     2. รู้จักวิธีถักเบื้องต้น และสามารถ ปฏิบัติจริงได้ถูกต้อง

	หลักสูตรวิชา การถักนิตติ้ง 2
	     เนื้อหารายวิชา  วิธีถักนิตติ้งลายต่าง ๆ	
	     1.รู้จักลายต่าง ๆ ในการถักนิตติ้ง
	     2.ผู้เรียนสามารถถักลายนิตติ้ง  ตามที่กำหนดได้ อย่างน้อย 5 ลาย จาก 7 ลาย
	
	หลักสูตรวิชา การถักนิตติ้ง 3 
	     เนื้อหารายวิชา  วิธีถักผ้าพันคอ  ผู้เรียนสามารถถักผ้าพันคอได้ อย่างน้อย 1 ประเภท
	
	หลักสูตรวิชา การถักนิตติ้ง 4 
	     เนื้อหารายวิชา วิธีถักเสื้อกั๊ก  ผู้เรียนสามารถถักเสื้อกั๊กได้อย่างน้อย 1 ตัว
	
	หลักสูตรวิชา การถักนิตติ้ง 5
	     เนื้อหารายวิชา วิธีถักชุดเด็กอ่อน  ผู้เรียนสามารถถักชุดเด็กอ่อนได้อย่างน้อย 2 ชิ้นจาก 4 ชิ้น


          ผลงานที่นักเรียนได้ทำไม่เพียงแต่เป็นการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เท่านั้น ยังสร้างรายได้ให้กับตนเองอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฝีมือเป็นที่นิยม           
     เป็นอย่างมาก  และจากการเพียรพยายามฝึกฝน พัฒนางานฝีมือมาโดยตลอดจึงส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับในสังคม 
     โดยผลงานชิ้นนี้ได้ปรากฎให้เห็นในงานการแข่งขันผีมือคนพิการ ครั้งที่  1 ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดขึ้น ในวันที่  30 - 31  สิงหาคม  2546  
     เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันที่ประเทศอินเดีย  โดยมีพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเป็นประธานในพิธี 
     โดยในปีนี้มีนางสาวสมสรวง  กองเงิน  ได้รับรางวัลที่ 2 ของการถักนิตติ้ง ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง

ในปี 2548 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดให้มีการแข่งขันฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 2 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 26 -28 สิงหาคม 2548 ณ ห้อง MCC HALL เดอะมอลล์งามวงศ์วาน โดยในปีนี้ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนได้รับรางวัล จากการแข่งขันในประเภทของงานต่างๆ ดังนี้ 1. รางวัลที่ 1 สาขางานถักไหมพรม คือ นางสาวสมสรวง กองเงิน 2. รางวัลที่ 2 สาขางานถักไหมพรม คือ นางสาววิไลพร คุ้มสุพรรณ 3. รางวัลที่ 1 สาขางานร้อยลูกปัด คือ นางสาวพนารัตน์ ศรีสวัสดิ์ 2. รางวัลที่ 2 สาขางานถักลูกไม้ คือ นางสาวกาญจนา คำบุบผา