เด็กออทิสติก
	"ออทิสซึม" กับ "ออทิสติก" เป็นอย่างไร
		"ออทิสซึม" คือลักษระอาการที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กที่แสดงพฤติกรรมให้เห็นว่าเด็กไม่สามารถพัฒนาด้านสังคม 
	การสื่อความหมายและขาดจินตนาการ จะปรากฎให้เห็นได้ในระยะ 3 ขวบแรกของชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติทางหน้าที่ของระบบประสาท
	บางส่วนที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ 

	"ออทิสติก" เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีอาการของโรคนี้ซึ่งพบเด็กออทิสติก 4 - 5 คนในจำนวนเด็กที่เกิดมา 10,000 คน เด็กชายมากกว่า
	เด็กหญิง 4 เท่า และพบได้ในเด็กทั่วโลก ไม่จำกัดพื้นฐานทางสังคม

	จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นออทิสติก
	การที่จะดูว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการเจิรญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของ
	เด็กตั้งแต่แรกเกิด การกิน การนอน การขับถ่าย รวมทั้งการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเด็กปกติในช่วงอายุเดียวกัน นอกจากการสังเกตระดับ
	การพัฒนาการของเด็กแล้ว อาจใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้
1. ไม่สนใจสังคมรอบข้าง 2. ไม่สามารถสื่อความหมายได้ 3. มีพฤติกรรมความสนใจและการกระทำซ้ำๆ ออทิสติกเกิดขึ้นได้อย่างไร ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เด็กเป็นออทิสติกแม้ว่าจากการวิจัยใหม่ๆ พบว่า มีความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องไวรัส กรรมพันธุ์และการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีใน ร่างกายมีหลักฐานหลายอย่างที่แสดงว่าเป็นความผิดปกติทางสมอง เช่น 1. เด็กออทิสติกร้อยละ 25 - 30 จะมีอาการของโรคลมชัก ฉะนั้นถ้าพบว่าเด็กออทิสติกที่มีประวัติการชักเมื่อมีไข้สูง ควรได้รับการตรวจคลื่น ไฟฟ้าของสมองทุกราย ถ้าพบว่ามีความผิดปกติในคลื่นสมองแพทย์ควรให้ยากันชักทันที 2. เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ เช่น เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นหัดเยอรมันในระยะตั้งครรภ์ คลอดออกมาแล้วพบว่ามีสิ่งแทรกซ้อน อาจมี ตาบอด หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด และมีลักษณะของออทิสซึมด้วย 3. มีหลักฐานแสดงว่าเด็กออทิสติกมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เนื่องจากพบเด็กออทิสติกในคู่แฝดจากไข่ใบเดียวกันมากกว่าคู่แฝดที่เกิดจากไข่ คนละใบ อัตราส่วนเด็กออทิสติกในพี่น้องท้องเดียวกันพบถึง 1 ใน 50 ส่วน ในเด็กทั่วไปพบ 1 ต่อ 2500 4. พบว่ามารดาของเด็กออทิสติกมีประวิตอาการแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ 5. มีความผิดปกติของสารบางอย่างที่เป็นตัวนำทางระบบประสาทสูงขึ้นมาก เช่น ชีโรโตนินและโดปามีน 6. มีความผิดปกติในระบบภูมิต้านทานในเด็กออทิสติก ระบบภูมิต้านทางกลับไปทำลายระบบประสาทของตนเอง 7. แพทย์ทางระบบประสาท พบว่า สมองของเด็กออทิสติกมีเซลล์ของสมองผิดปกติอยู่ 2 แห่ง คือ บริเวณควบคุมด้านความจำอารมณ์ และแรงจูงใจ ส่วนอีกบริเวณหนึ่งจะควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งลักษณะของเซลล์สมองทั้ง 2 แห่งจะเป็นเซลล์ที่ยังไม่พัฒนาเทียบได้เท่ากับเซลล์สมองเด็กอายุ เพียง 38 อาทิตย์ ที่อยู่ในครรภ์มารดา ส่วนปัจจัยทางการเลี้ยงดูนั้นไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่จะเป็นสาเหตุส่งเสริมที่จะทำให้เด็กมีอาการมากขึ้น หรือช่วยให้อาการของเด็กดีขึ้นได้เช่นกัน จะมีวิธีการฝึกและดูแลเด็กออทิสติกอย่างไร การฝึกเด็กออทิสติกเป็นวิธีการฝึกตามธรรมชาติ มีวิธีปฏิบัติตามขั้นตอนของการพัฒนาของเด็กทั้งทางด้านสังคม การสื่อความหมาย การช่วยตนเอง ในชีวิตประจำวัน การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก การเล่นและการรับรู้ทางอารมณ์ ซึ่งเป็นการแก้ไขความบกพร่องของเด็กออทิสติก เป็นการเตรียมเด็ก ให้พร้อมก่อนนำเด็กสู่สังคมนอกบ้าน เข้าสู่สังคมของเด็กในโรงเรียนต่อไป ที่มา : เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ย้อนกลับ