เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย

		นิยามทางการศึกษา
	เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หมายถึง เด็กที่มีลำตัว แขนขา ผิดปกติทำให้เด็กไม่อาจเรียนในสภาพแวดล้อมให้สอดคล้อง
          กับความสามารถและความต้องการของเด็ก รวมไปถึงเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล

		นิยามนี้ครอบคลุมเด็กพิการ 2 ประเภท คือเด็กพิการทางร่างกายและเด็กทีมีความบกพร่องทางสุขภาพ 
	1. เด็กพิการทางร่างกาย สาเหตุจากความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ คือ 
		1.1 เท้าใหญ่ หนา เท้าผิดปกติ 
		1.2 เกิดจากโรคโปลิโอ วัณโรคกระดูก 
		1.3 ความพิการที่เกิดจากอาการอัมพาตทางสมอง 
		1.4 แขนขาด้วน 
		1.5 การหดตัวของอวัยวะบางส่วน ซึ่งอาจเกิดจากได้รับอุบัติเหตุ ไฟไหม้ นำร้อนลวกอย่างสาหัส
	2.เด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพอันเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเจ็บป่วยเป็นโรคบางชนิด
          ที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ติดต่อกัน เช่น โรคหัวใจ วัณโรคปอด โรคไขข้อ โรคไต โรคเฮโมพิเลีย(เลือดไหลไม่หยุด) โรคลมชัก พิษจากสารตะกั่ว 
          โรคมะเร็งในเม็ดโลหิต โรคเบาหวาน เป็นต้น

		การช่วยเหลือ 
	1. ด้านการสื่อสารเน้นการพูดการเชียน การเข้าใจภาษา 
	2. ด้านการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เน้นการช่วยเหลือตนเอง เช่น การทานอาหาร การใช้ห้องน้ำ อาบน้ำแปรงฟัน การแต่งกาย การดื่มน้ำ
	3. การเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ การตรงต่อเวลา ทำงานโดยไม่ครูควบคุม
	4. ด้านนันทนาการ เน้นการเคลื่อนไหวกิจวัตรประจำวัน
	5. ปรับปรุงวัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอนให้สอดคลอ้งกับความต้องการของเด็ก
	
		อุปกรณ์พิเศษที่เหมาะสมกับความพิการของเด็ก
	1. เก้าอีและโต๊ะพิเศษ ช่วยการทรงตัวขณะนั่งและยืน
	2. ที่ตั้งหนังสือ เพื่อวางหนังสือเมื่อเด็กไม่สามารถถือเองได้
	3. ภาพฉายบนเพดานสำหรับเด็กที่นอนบนเตียงที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน
	4. เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ออกแบบให้สะดวกสำหรับเด็ก
	5. ที่เปิดหน้าหนังสือ ในกรณีที่เด็กไม่มีมือเปิดเองได้
	6. ที่จับดินสอ เพื่อช่วยในการจับดินสอบเวลาเขียนหนังสือ
	7. เครื่องช่วยประสาทสัมผัส เช่น แขน ขาเทียม ให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวบังคับแขนขาได้
	8. หมวกช่วยในการวางตัว สำหรับเด็กที่ไม่สามารถควบคุมคอหรือศีรษะให้อยู่ในท่าปกติได้
	
		บริการพิเศษที่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายต้องการ
1. การบำบัดทางกายภาพ 2. กิจกรรมบำบัด 3. การสอนภาษา ที่มา : การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ดร.ผดุง อารยะวิญญ) : 2533
ย้อนกลับ