เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
		คำจำกัดความ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งอาจจะเป็นเด็กหูตึง หรือหูหนวกก็ได้ เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 100 , 1000 และ2000 เฮิทซ์ ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ ในการฟัง อาจจะเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิด หรือเป็นการได้ยินในภายหลัง เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26 - 89 เดซิเลบ ในหูข้างดีกว่าวัดโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ ความถี่ 500 1000 และ 2000 เฮิทซ์ เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย ไปจนถึงการได้ยินขั้นรุนแรง สัญญาณเตือนภัยว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหู - อาการปวด เจ็บ คัน รวมทั้งอาการหนักๆ ในหู - มีของเหลวไหลออกจากช่องหู อาจจะมีลักษณะใสๆ ข้นๆ เหนียวหรือแดง เป็นเลือดมีกลิ่นผิดปกติ - หูอื้อ ฟังเสียงไม่ชัด - มีเสียงรบกวนในหู - เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คลื่นไส้ - เสียงพูดผิดปกติ เช่น พูดเสียงดัง หรือเบาเกินไป - ใบหู ช่องหู มีลักษณะผิดปกติ - ใบหน้ากระตุกเป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท วิธีสอนภาษาสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน การฝึกการได้ยิน คือ การฝึกให้ใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ในการรับรู้เสียง ทิศทาง ความหมายของเสียงพูด เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการติดต่อ สื่อสาร การฝีกพูด คือ การฝึกให้เด็กพัฒนาภาษาที่เป็นธรรมชาติที่เรียนรู้จากประสบการณ์ มีความหมายเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพื่อติดต่อกับคนปกติ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ร่วมการใช้เครื่องช่วยฟัง โดยการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องคือ การฝึกฟัง การอ่านคำพูด จะต้องฝึกและเรียนรู้ตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษา การใช้ท่าทาง คือ ท่าทางที่เกิดขึ้นมาจากธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้สายตาในการรับภาษาโดยไม่ต้องใช้เสียงนับเป็นพื้นฐานความเข้าใจ "ภาษามือ" การสะกดนิ้วมือ คือ การที่บุคคลทำท่านทางเป็นรูปต่างๆ แทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่นๆ ของภาษาประจำชาติเพื่อสื่อภาษา โดยทั่วไปตัวอักษรที่สะกดด้วยนิ้วมือของภาษาใด จะมีจำนวนเท่ากับตัวอักษรของภาษานั้น ที่มา หนังสือความบกพร่องทางการได้ยิน (รศ.ศรียา นิยมธรรม) ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ย้อนกลับ