บุคคลตัวอย่าง

 	ประวัติผู้ช่วยศาสตราจารย์วิริยะ  นามศิริพงศ์พันธุ์

		สำเร็จการศึกษาจากเซนต์คาเบรียล, อัสสัมชัญบางรัก, นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
	และเนติบัณฑิตไทย LL.M.(Taxation) จากมหาวิทยาลัย Harvard ประเทศสหรัฐอเมริกา
	ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการนโยบายและแผน วิทยาลัยราชสุดา กรรมการของ
	คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ  กรรมการในคณะกรรมการการศึกษาสำหรับคนพิการทุกประเภทแห่งชาติ  รองประธานมูลนิธิส่งเสริมอาชีพ
	คนตาบอด เลขานุการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย  กรรมการที่ปรึกษาสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และกรรมการที่ปรึกษาสมาคม
	คนหูหนวกแห่งประเทศไทย
	ผลงานดีเด่น  สอบได้ที่ 1 ของคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับทุนภูมิพล  เป็นคนพิการที่เป็นข้าราชการคนแรกของประเทศไทย  
	มีบทบาทสำคัญในการทำให้มีพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ แผนแม่บทการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแห่งชาติ  ระเบียบข้อบังคับ
	ของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่เอื้อประโยชน์แก่คนพิการ  และการก่อตั้งสมาคมคนตาบอดในต่างจังหวัด  จนได้รับรางวัลคนพิการตัวอย่าง  
	จากสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และรางวัลผู้ให้ความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนงานสวัสดิการคนพิการจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
	ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2520  ในระหว่างที่คนไทยเคยชินกับการพบเห็นคนตาบอดขอทาน คนตาบอดเล่นดนตรีแลกกับเงิน คนตาบอดขายสลากกินแบ่งรัฐบาล 
	คนไทยก็ต้องตื่นเต้นและแปลกใจกับหัวข้อข่าวเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในชีวิตของคนตาบอดชื่อ นายวิริยะ  นามศิริพงศ์พันธุ์	
	หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า “คนตาบอดคว้าตำแหน่งที่ 1 ของคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้รับทุนภูมิพลมีชัยเหนือนักศึกษาตาดีนับพัน”
	หนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า “รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมวันนี้ อาจารย์สอนหนังสือกฎหมายตาบอดคนแรกของประเทศไทย”
	และหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า “ข้าราชการตาบอดคนแรกของประเทศไทย พิชิตตำแหน่งที่ 1 นิติศาสตร์  ธรรมศาสตร์ปีนี้”

	หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมีบทสัมภาษณ์ที่นักข่าวถามว่า “รู้สึกอย่างไรที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้”

		นายวิริยะ  นามศิริพงศ์พันธุ์  ตอบนักข่าวว่า “ดีใจมากครับ และดีใจเป็นที่สุดเมื่อผมได้ยินสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงตรัสชมด้วยน้ำเสียง
	ที่พอพระทัยอย่างยิ่งว่า “เก่งมาก เก่งมาก เก่งจริงๆ” และรู้จากเพื่อนฝูงว่า ในเวลาที่ผมได้รับพระราชทานปริญญาบัตรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
	ทรงยิ้มอย่างพอพระทัย  ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วพระองค์ท่านจะไม่ทรงยิ้มในเวลาที่พระองค์ท่านพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษาทั่ว ๆ ไป แสดงว่า
	ผมได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระองค์ท่านเป็นพิเศษ  ต้องถือว่าผม             มีบุญจริงๆ อันที่จริงแล้วพระองค์ท่านทั้งสองได้ทรงให้ความช่วยเหลือแก่
	คนตาบอดเป็นอย่างดีและอย่างมากจึงมีประเพณีบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านทั้งสอง” 
	“รู้สึกอย่างไรที่สอบได้เป็นที่ 1 ของคณะนิติฯ และได้เป็นอาจารย์สอนหนังสือกฎหมายที่ตาบอดคนแรกของประเทศไทย”

		นายวิริยะ  นามศิริพงศ์พันธุ์  “ผมรู้สึกดีใจมากครับ    และก่อนอื่นผมต้องขอบคุณ            ดร.ป๋วย  อึ้งภาภรณ์  และ   ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์  ที่ได้เปิดโอกาส
	ให้ผมได้มาเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมจะดีใจยิ่งขึ้นและดีใจมากเป็นที่สุด ถ้าบุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคมจะเปิดโอกาส
	ให้แก่คนตาบอดคนอื่นได้รับการศึกษาและมีงานดี ๆ ทำ เหมือนอย่างที่ผมได้รับ ผมเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่คนตาบอดทั่วไปได้รับโอกาสเช่นนั้นคนไทยก็จะได้พบเห็น
	คนตาบอดจำนวนมากที่ประสบผลสำเร็จทางการศึกษาเหมือนอย่างผมหรือมากกว่าผม และคนไทยอาจได้พบเห็นคนตาบอดทำงานดี ๆ ที่คนทั่วไปไม่อาจคาดฝัน
	ว่าคนตาบอดจะสามารถทำได้ คนตาบอดขอโอกาสครับ”
	“ขออาจารย์ได้ช่วยให้คำแนะนำแก่คนพิการและคนที่หมดหวังในชีวิตว่าควรจะทำอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จอย่างอาจารย์”
	นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์  ได้ให้คำแนะนำว่า “ผมขอให้คำแนะนำเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ

	คำแนะนำของอาจารย์ เพื่อให้กำลังใจแก่คนพิการและคนที่หมดหวังในชีวิต 

	1. ให้นึกถึงคนที่ย่ำแย่กว่า ทุกเช้าตื่นขึ้นมาหรือก่อนนอนให้นึกถึงคนที่ย่ำแย่กว่าเราเสมอ อาจจะแย่กว่าเราในทางร่างกายหรือในทางทรัพย์สิน  
	     คนที่นอนอยู่ใต้สะพาน การนึกถึงคนที่มีสภาพย่ำแย่กว่าจะทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนโชคดีมากคนหนึ่ง
2. ฝึกตั้งคำถามที่สร้างสรรค์ อย่าตั้งคำถามที่ทำลายตัวเอง ถามตัวเองว่าทำไมฉันจึงไม่ใช้สิ่งที่ฉันมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอะไรที่ทำให้ฉันสนุกสนาน ทำให้ฉันมีความสุข อะไรคือเป้าหมายในการประกอบอาชีพหรือชิวีตของฉัน การตั้งคำถามและหาคำตอบอย่างนี้จะทำให้สุขภาพจิตดี 3. ให้หาอะไรทำตลอดเวลาอย่าปล่อยให้มีเวลาว่าง การอ่านหนังสือที่สร้างสรรค์และการฝึกเขียนคำตอบของปัญหาที่สร้างสรรคเอาไว้อ่าน เป็นสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เพราะจะทำให้เรารู้จักใช้ปัญญาแทนการใช้อารมณ์ การแก้ปัญหาชีวิตด้วยการใช้ปัญญาเป็นทางออกที่ดีที่สุด 4. เคราะห์มักสร้างโอกาส มนุษย์มักลืมไปว่าเคราะห์มักสร้างโอกาส แต่มนุษย์ปล่อยให้อารมณ์ชนะปัญญา จึงปล่อยให้อารมณ์ร่วมมือกับเคราะห์ในการ ทำร้ายตัวเอง 5. ความหวังมีอยู่เสมอกับทุกคน ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความหวัง และทำให้เราประสบผลสำเร็จในความหวังนั้น เมื่อเราสร้าง ความหวังที่สูงขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งเราก็จะรู้เองว่าเป้าหมายชีวติที่แท้จริงคืออะไร 6. เงินและอำนาจเป็นเจ้านายที่เลวทีสุด แต่เป็นผู้รับใช้ที่ดีที่สุดเช่นกัน เพื่อไม่ให้เงินและอำนาจเป็นเจ้านายของเรา เราต้องฝึกฝนกินอยู่แบบง่ายๆ แต่ใน ขณะเดียวกันก็ทำงานหนัก อดทน รู้จักจัดการกับสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 7. ต้องรู้จักให้ มนุษย์ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำอะไรต้องไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน ให้อภัยและช่วยเหลือกันและการให้ต้องเป็นการให้ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน
ย้อนกลับ