ประวัติของศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน
    		 ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน เกิดขึ้นจากการที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่านักเรียนหญิงตาบอด
	รุ่นโตของโรงเรียนทางหัตถศึกษานั้นน่าจะมีสถานที่เรียนต่างหากโดยเฉพาะโดยเริ่มจากการฟื้นฟูสมรรถภาพก่อนแล้วจึงฝึกวิชาชีพและ
	ติดตามด้วยการส่งเสริมให้มีอาชีพต่อได้
    		 ดังนั้นคณะกรรมการของมูลนิธิฯ จึงได้วางโครงการจัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารและได้ซื้อที่ดินประมาณสองไร่  ปลูกสร้างอาคาร
	สองชั้นขึ้นหนึ่งหลัง เมื่อปลายปี พ.ศ.2524 และในปีการศึกษา 2525 จึงได้ย้ายนักเรียนหญิงแผนกหัตถกรรมจากโรงเรียนสอนคนตาบอด
	กรุงเทพ ไปอยู่ ณ ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพรานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2525 นักเรียนหญิงรุ่นแรกมีจำนวน 27 คน 
	ในขณะที่ทางศูนย์ฯ สามารถรับนักเรียนได้ 60 คน 
    		 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ได้พัฒนางานด้านการเรียนการสอน การฝีกทักษะด้านอาชีพ รวมทั้งการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 
	ให้กับสตรีที่พิการทางด้านสายตามาโดยตลอด โดยมุ่งเน้นให้พวกเขาสามารถออกไปใช้ชีวิตในสังคมและมีอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว
	โดยไม่เป็นภาระของสังคม

หน้าแรก English