ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็น
(Orientation and Mobility : O&M>
ประวัติความเป็นมาของวิชา O&M จากหลักฐานที่อ้างอิงได้ในปัจจุบันวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว หรือ เรียกย่อๆ ว่า O&M มีประวัติที่ได้กล่าวไว้ พอสังเขปดังนี้ (สุวิมล อุดมพิริยะศักย์ 2537 : 5,แฉล้ม แย้มเอี่ยม 2540 : 1) แนวคิดการใช้สุนัขนำทาง ปี พ.ศ.2458 กองทัพเยอรมันฝึกสุนัขเพื่อให้ค้นหาทหารที่บาดเจ็บจากการรบ รวมทั้งฝึกให้สุนัขเป็นยามและให้ส่งข่าว ปี พ.ศ.2460 ประเทศเยอรมันได้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางใช้ในกิจการสงคราม เพื่อนำทางทหารที่ถูกปลดประจำการซึ่งพิการทางการเห็น จากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชื่อโรงเรียน German War Dogs School ที่เมือง Potsdam ปี พ.ศ.2468-2469 นางโดโรที อัสทิส (Dorothy Eustis) ชาวอเมริกัน มีความสนใจในการฝึกสุนัข จึงเดินทางไปประเทศเยอรมัน เพื่อ ศึกษา และเกิดความคิดที่จะฝึกสุนัขสำหรับใช้นำทางคนพิการทางการเห็น จึงได้เขียนบทความเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของสุนัขนำทาง เรื่อง "The Seeing Eye" ลงในหนังสือ "Saturday Evening Post" เดือนตุลาคม 2470 และในปี พ.ศ.2474 ได้ตั้งศูนย์ฝึกสุนัข Fortunate Fields ในเมือง Vevey จนในที่สุดได้รับขนานนามว่า "มารดาแห่งสุนัขนำทาง" (The Mother of Guide Dog) ปี พ.ศ.2471 นายมอร์ริส แฟรงค์ (Morris Frank) คนพิการทางการเห็นชาวอเมริกัน ได้อ่านบทความของนางโดโรที อัสทิส เกิดความสนใจ ในเรื่องสุนัขนำทาง จึงเดินทางไปศึกษาและฝึกการใช้สุนัขนำทางที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยฝึกกันสุนัขพันธุ์เซฟเฟอร์ด (Shepherd) ชื่อบัดดี้ (Buddy) เมื่อเรียนสำเร็จแล้วเขาได้เดินทางกลับอเมริกาและในปี พ.ศ.2472 เริ่มศูนย์ฝึกสุนัขนำทางชื่อ Seeing Eye Guide Training Centre ที่เมืองมอริสทาวน์ รัฐนิวเจอร์ซี่ และในปีเดียวกันที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้เปิดโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางขึ้น ปี พ.ศ.2474 ประเทศอังกฤษเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกสุนัขนำทาง ปี พ.ศ.2494 ประเทศออสเตรเลียเริ่มมีศูนย์ฝึกสุนัขนำทางที่เมือง Perth ปี พ.ศ.2505 ประเทศออสเตรเลียได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกสุนัขนำทางที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศในเนื้อที่ถึง 16.25 ไร่ ที่เมือง Kew แคว้น Victoria ชื่อ Royal Guide Dogs for the Blind Associations of Australia ผลจากการวิจัย ปี พ.ศ..2503 โดยศูนย์ Research Centre of the New York School of Social Work และความเห็นของครูสอน O&M รวมทั้งคนพิการทางการเห็น ลงความเห็นว่า นอกจากการเดินทางกับผู้นำทางแล้ว คนพิการทางการเห็นที่ใช้สุนัขนำทางสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วมากกว่าเครื่องช่วยอย่างอื่น
ไม้เท้าขาวแรลลี่
ชนิดของไม้เท้าขาว

	การเปลี่ยนแนวคิดเป็นการใช้ไม้เท้าขาว

     ปี พ.ศ.2488  เป็นปีที่สำคัญเนื่องจากมีการเปิดสอนวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) ให้กับคนพิการทางการเห็น 
  ที่โรงพยาบาลวัลเลย์ ฟอร์ก (Valley Force)  เพราะโรงพยาบาลแห่งนี้อยู่ชานเมืองฟิลาเดลเฟีย มีทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บ และพิการทางการเห็นจาก
  การทำสงครามเป็นจำนวนมาก ซึ่ง ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์   (Dr.Richard Hoover)  ผู้อำนวยการศูนย์กายภาพบำบัดในโรงพยาบาลแห่งนี้ได้สังเกตเห็น
  คนพิการทางการเห็นใช้ไม้เท้าสั้นๆ  ที่มีน้ำหนักมากแกว่งไปมาอย่างสะเปะสะปะ  เวลาเดินไปตามทางเดินบริเวณโรงพยาบาล เขาและคณะจึงคิดดัดแปลง  
  ไม้เท้าให้ยาวขึ้น มีนำหนักน้อยลง แต่แข็งแรงและได้เปลี่ยนตำแหน่งการจับไม้เท้า เวลาแกว่งจากข้างๆ ลำตัว ไปเป็นข้างหน้าและอยู่กลางลำตัวที่ระดับ
  เข็ดขัด ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสอนวิธีการใช้ไม้เท้าขาวให้กับคนพิการทางการเห็นในปัจจุบัน จนได้รับการขนานนามว่า 
  "บิดาแห่งไม้เท้าขาว"  (The Father of White Cane) และถือว่าวันที่ 15  ตุลาคม  ของทุกปี เป็นวันไม้เท้าขาวโลก

     ปี พ.ศ.2503 จากการได้ทดลองนำวิธีการฝึกทักษะ  O&M  มาใช้ในการสอนคนพิการทางการเห็นแล้วเกิดปัญหาในการฝึก จึงได้มีการทำวิจัยและนำผล
  ที่ได้มาจัดทำเป็นหลักสูตรการสอนวิชานี้ขึ้น โดยมีการเปิดสอนวิชา  O&M  ที่วิทยาลัยบอสตัน  (Boston College)  ผู้จบการศึกษาจะได้วุฒิการศึกษา  
  เรียกว่า  "Peripatologist"  และมหาวิทยาลัยเวสเทริน มิชิแกน  (Western Michigan University)  ผู้จบการศึกษาจะได้วุฒิการศึกษา เรียกว่า 
  "Orientation and Mobility Specialist"  ในปัจจุบันวิชา  O&M  ได้เจริญก้าวหน้าและเผยแพร่ในสถาบันการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อ
  ผลิตครูหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนวิชานี้ต่อไป เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ อินโดนีเซีย และอินเดีย  นอกจากนี้ยังมีประเทศที่กำลังตื่นตัว คือ 
  ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี เวียดนาม มาเลเซีย อาาฟริกาใต้ ศรีลังกา ฮ่องกง และสิงคโปร์

     เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตร "ครูผู้สอนให้คนพิการทางการเห็นเดินทางด้วยไม้เท้าขาวได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเป็นอิสระ"
     วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
ย้อนกลับ